Destination Guide
กระบี่ : ข้อมูลทั่วไป

     

   จังหวัดกระบี่ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพ 814 กิโลเมตรโดยประมาณ เป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวทางภาคใต้ของประเทศไทยที่น่าดึงดูดที่สุด ประกอบไปด้วยพื้นที่ 4,708 ตารางกิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของกระบี่ติดกับทะเลอันดามัน ทิศเหนือติดกับจังหวัดสุราษฏร์ธานี และ จังหวัดพังงา ทิศใต้ติดกับจังหวัดตรังและทะเลอันดามัน ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรัง กระบี่คือประตูสู่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันงดงาม ที่มีทั้ง หาดทรายขาวละเอียด แนวประการังที่น่าตื่นตา เกาะแก่งน้อยใหญ่ และป่าเขียวชอุ่ม ที่เต็มไปด้วย ถ้ำ และน้ำตกหลายแห่ง

  ภูมิประเทศของจังหวัดกระบี่ประกอบด้วยภูเขาและพื้นที่ราบสูงเป็นส่วนใหญ่ มีพื้นที่เป็นทุ่งราบคั่นเป็นส่วนๆ ตัวเมืองกระบี่มีแม่น้ำยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามันที่ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย มีต้นกำเนิดจากยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่ คือ เขาพนมเบญจา มีป่าโกงกางที่อุดมสมบูรณ์ตลอดแนวชายฝั่งปากแม่น้ำกระบี่ก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเลอันดามัน นอกจากนี้ยังมีดินทรายที่อุดมด้วยแร่ธาตุที่เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชนานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นยาง,ปาลม์น้ำมัน,มะพร้าว,มะม่วงหิมพานต์ และ กาแฟ

ด้วยอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้กระบี่มีฤดูกาลเพียงสองฤดูคือ ช่วงฤดูร้อนตั้งแต่เดือน มกราคมถึงเดือนเมษายน และช่วงฤดูฝนตั้งแต่พฤษภาคมไปจนถึงเดือนธันวาคม การปกครองของจังหวัดกระบี่แบ่งออกเป็น 8 อำเภอ คือ 1.อำเภอเมืองกระบี 2. อำเภอเขาพนม 3. อำเภอเกาะลันตา4. อำเภอคลองท่อม5. อำเภออ่าวลึก 6. อำเภอปลายพระยา 7.อำเภอลำทับ 8. อำเภอเหนือคลอง เขตการปกครองไม่เพียงแต่รวมอำเภอและตำบลบนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึง หมู่เกาะน้อยใหญ่ มากกว่า130เกาะ รวมถึงเกาะที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก อย่างเกาะ พีพี นอกจากนี้ กระบี่ยังเป็นที่ตั้งของสองหาดที่มีความงดงามระดับโลกอย่าง อ่าวนาง และ หาดไร่เลย์ ซึ่งเต็มไปด้วย จุดดำน้ำ ร้านอาหาร และ ร้านค้า มากมาย มีจุดที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวคือ เขาและหน้าผาหินปูนซึ่งกลายเป็นสวรรค์ของนักปีนเขา ห่างออกจากตัวเมืองไปเพียง 40 กิโลเมตรเป็นอุทยานแห่งชาติ ที่มีทะเลสาป ถ้ำ และทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่งดงามสุดบรรยาย

ประวัติศาตร์ ของจังหวัดกระบี่

  นักโบราณคดีเชื่อว่าเมืองกระบี่เคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศไทย จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งรกรากของ มนุษย์โฮโมเซเปียน มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาตร์ หรือตั้งแต่ 25,000-35,000 ปีก่อนคริสตกาล มีข้อสรุปด้วยเหตุผลที่รองรับอย่างแน่นหนา จาการค้นพบ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหิน ภาพเขียนสีสมัยดึกดำบรรพ์ สร้อยคอลูดปัดโบราณ เครื่องปั้นดินเผา และ โครงกระดูก ที่ยังคงพบเห็นได้ตามถ้ำและหน้าผาต่างๆ ในตัวจังหวัด

  ในช่วงพุทธศักราช 1200 บริเวณนี้ถูกเรียกว่าบ้านไทยสมอ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 12 ราชอาณาจักร มีลิงเป็นตราสัญลักษณ์ประจำเมือง ในช่วงเวลาดังกล่าว กระบี่ถูกปกครองโดยราชอาณาจักรลิกอร์ หรือชื่อที่รู้จักในปัจจุบันว่า นครศรีธรรมราช

  ในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่5 (ค.ศ.1868-1910) กระบี่เป็นเพียงแขวงหนึ่งอยู่ในอำนาจปกครองและบังคับบัญชาของเมืองนครศรีธรรมราชเรียกว่า "แขวงเมืองปกาสัย" จนกระทั่งช่วงประมาณปี ค.ศ.1872 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองปกาสัยและพระราชทานนามว่า "เมืองกระบี่" เมื่อได้ประกาศตั้งขึ้นเป็นเมืองแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศาลาทำการอยู่ที่ตำบลกระบี่ใหญ่ (ซึ่งในปัจจุบันได้ย้ายที่ทำการมาที่ตำบลปากน้ำ ซึ่งอยู่ใกล้ปากอ่าว) ต่อมาในปี ค.ศ.1875 ได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองกระบี่ออกจากการปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดกระบี่

  จนมาถึงปัจจุบัน คณะข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียงได้จัดงานรวบรวม ทุนทรัพย์สร้างพระราชฐาน ที่แหลม หางนาค บนชายฝั่งทะเลอันดามัน อยู่ห่างไปสามสิบกิโลเมตรทางทิศตะวันตกของตัวเมืองกระบี่ เพื่อทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ที่มาของ ชื่อจังหวัด กระบี่

  มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับที่มาของ ชื่อจังหวัด กระบี่สองตำนาน ตำนานแรกชาวบ้านได้ขุดพบมีดดาบโบราณใหญ่เล่มหนึ่ง นำมามอบให้กับเจ้าเมือง กระบี่ และต่อมาไม่นานก็ขุดพบมีดดาบโบราณเล็กอีกเล่มหนึ่ง รูปร่างคล้ายกับมีดดาบโบราณเล่มใหญ่ จึงนำมามอบให้กับเจ้าเมือง กระบี่ เช่นกัน เจ้าเมือง กระบี่ เห็นว่าเป็นดาบโบราณสมควรเก็บไว้เป็นดาบคู่บ้านคู่เมือง เพื่อเป็นศิริมงคล แต่ขณะนั้นยังสร้างเมืองไม่เสร็จจึงได้นำดาบไปเก็บไว้ในถ้ำเขาขนาบน้ำหน้า เมืองโดยวางไขว้กัน ซี่งลักษณะการวางทำให้เป็นสัญลักษณ์ของตราประจำเมือง คือ ดาบไข้วทาบอยู่บนภูเขาขนาบน้ำ

  ส่วนอีกตำนานหนึ่งสันนิษฐานว่าคำว่า "กระบี่" อาจเรียกชื่อตามพันธุ์ไม้ชนิด หนึ่งที่มีมากในท้องถิ่น คือต้น "หลุมพี" เรียกชื่อว่า "บ้านหลุมพี" มีชาวมลายูและชาวจีนที่เข้ามาค้าขายได้เรียกเพี้ยนเป็น "กะ-ลู-บี" หรือ "คอโลบี" ต่อมาได้ปรับเป็นสำเนียงไทยว่า"กระบี่"

ระยะทางจาก อำเภอเมืองไปยังอำเภอข้างเคียง

อำเภอ อ่าวลึก 43 กิโลเมตร
อำเภอปลายพระยา 66 กิโลเมตร.
อำเภอเขาพนม 39 กิโลเมตร
อำเภอคลองท่อม 42 กิโลเมตร
อำเภอเกาะลันตา 103 กิโลเมตร
อำเภอลำทับ 67 กิโลเมตร
อำเภอเหนือคลอง 17 กิโลเมตร

............................................................................................................................................................................................................................